สายตาไปสะดุดกับคำว่า "SEG" ในแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานฯ แล้วสงสัยว่า SEG คืออะไร ใช้ในการกำหนดในเรื่องอะไรบ้าง ก็เลยหาข้อมูล เพิ่มเติมยืนยันว่าเราเข้าใจถูกต้องหรือไม่?
SEG มีอยู่ใน แบบรายงานผลการตรวจและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน ซึ่งมีทั้งใน แบบ รสส.๑ , รสส.๒ ,รสส.๓ ตาม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสถานประกอบกิจการ
SEG คืออะไร ?
SEG หรือ Similar Exposure Group หมายถึง กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสสารเคมีอันตรายหรือสัมผัสสภาวะการทำงานเหมือนกัน เนื่องจากงานที่ทำและความถี่ในการทำงานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงนั้นเหมือนกัน และผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งอาจอยู่ในกลุ่มของ SEG หลายกลุ่มได้ เช่น
--- นายสมศักดิ์ ทำงานที่เครื่องเจียร ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ตลอดทั้งวัน
--- นายกงกิจ ทำงานที่เครื่องเจียรกับนายสมศักดิ์ ช่วง 08.00 - 11.00 น. หลังจากนั้นไปทำงานชุบ จนเลิกงาน
--- นายมนตรี ทำงานประจำที่บ่อชุบ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.
แนวทางในการประเมินและจัดกลุ่มการสัมผัสที่เหมือนกัน (SEG) เขาทำกันอย่างไร?
ขั้นตอนที่ 1
เดินสำรวจเบื้องต้นเพื่อรวบรวมข้อมูล จำเป็นต้องมีแบบสำรวจ เช่น มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับอะไรบ้าง จำนวนผู้ปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนงาน ระยะเวลาที่สัมผัส ความเข้มข้นในการสัมผัส เป็นต้น เช่น
จากข้อมูลข้างต้นเราก็พอที่จะจัดกลุ่มหนักงาน 3 คนได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : อันตรายจากเสียงดัง
กลุ่มที่ 2 : อันตรายจากฝุ่นเครื่องเจียร
กลุ่มที่ 3 : อันตรายจากสารเคมีงานชุบ
ขั้นตอนที่ 2
นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาประเมินและวิเคราะห์ โดยมีหลักการพิจารณา ดังนี้
-ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใน SEG เดียวกันย่อมมีการสัมผัสเหมือนกัน คือ สัมผัสปัจจัยเสี่ยงเดียวกันที่ความเข้มข้น(ระดับ)เดียวกัน
-ผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำงานในสายการผลิตเดียวกันแต่งานที่ทำต่างกันอาจอยู่ใน SEG ต่างกันได้
-ให้พิจารณาหน้าที่งานหรือตำแหน่งงานของแต่ละบุคคลด้วย เช่น หัวหน้างานกับผู้ปฏิบัติงาน แม้จะอยู่ในแผนกและสภาพแวดล้อมในการทำงานเดียวกันอาจมีการสัมผัสต่างกันได้
เราก็จะได้ ข้อมูลแบบคร่าวๆ ให้พอเข้าใจ โดยหน้างานจริงอาจต้องดูข้อมูลในรายละเอียดอีกมาก
กลุ่มที่ 1 : อันตรายจากเสียงดัง มีนายสมศักดิ์ กับนายกงกิจ
กลุ่มที่ 2 : อันตรายจากฝุ่นเครื่องเจียร มีนายสมศักดิ์ กับนายกงกิจ
กลุ่มที่ 3 : อันตรายจากสารเคมีงานชุบ มีนายกงกิจ กับนาย มนตรี
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อเราจัด SEG ให้กับกลุ่มพนักงานแล้ว เราก็นำข้อมูลไปทำแผนงานตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานและแผนการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว
....
เอกสารอ้างอิง
มอก.2535-2555 : การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
คำค้นหา : SEG คืออะไร , จป. วิชาชีพ , ตรวจวัดสภาพแวดล้อม , การทำงานกับสารเคมี , สารเคมีอันตราย , ปัจจัยเสี่ยง , สัมผัสปัจจัยเสี่ยง , ตรวจสุขภาพ , ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ,
ไปหน้าสารบัญรายการบทความ Safety