ตาม กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ หมวด ๒ กำหนดให้นายจ้าง ต้องจัดให้มี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ หรือ คปอ. ดังนี้
องค์ประกอบของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
- ประธานกรรมการความปลอดภัย โดยให้แต่งตั้งจาก นายจ้าง หรือ ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร
- กรรมการความปลอดภัย จาก ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา
- กรรมการความปลอดภัย จาก ผู้แทนลูกจ้าง
- กรรมการความปลอดภัย และเลขานุการ แต่งตั้งจาก จป. เทคนิคขั้นสูง หรือ จป. วิชาชีพ , กรณีเป็นสถานประกอบกิจการในบัญชี 3 ให้แต่งตั้งจากผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา
จำนวนของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
มีลูกจ้าง 50 - 99 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 5 คน ดังนี้
- ประธาน 1 คน
- กรรมการผู้แทนระดับบังคับบัญชา 1 คน
- กรรมการผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
- กรรมการความปลอดภัย และเลขานุการ 1 คน
มีลูกจ้าง 100 - 499 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 7 คน ดังนี้
- ประธาน 1 คน
- กรรมการผู้แทนระดับบังคับบัญชา 2 คน
- กรรมการผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
- กรรมการความปลอดภัย และเลขานุการ 1 คน
มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 11 คน ดังนี้
- ประธาน 1 คน
- กรรมการผู้แทนระดับบังคับบัญชา 4 คน
- กรรมการผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
- กรรมการความปลอดภัย และเลขานุการ 1 คน
การดำเนินการแต่งตั้ง หรือ จัดให้มีการเลือก
++ ต้องจัดให้มี คปอ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 50 คนขึ้นไป
++ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
++ ดำเนินการแต่งตั้งหรือจัดให้การเลือก คปอ. ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันก่อนครบวาระ
++ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ พ้นจากการเป็นผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง
++ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ พ้นจากการเป็น จป. เทคนิคขั้นสูง , จป. วิชาชีพ
++ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง
หน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ เสนอต่อนายจ้าง
2. จัดทำแนวทางการป้องกัน และลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงาน เสนอต่อนายจ้าง
3. รายงาน และเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
4. ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
5. พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น ในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
7. พิจารณาโครงการ หรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการ หรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับ เพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
8. จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคน ทุกระดับ มีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง
9. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง
10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เสนอต่อนายจ้าง
11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่น ตามที่นายจ้างมอบหมาย
คำค้นหา : คปอ. , คณะกรรมการความปลอดภัย , กฎกระทรวง จป. , กฎหมาย คปอ.
ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ