การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย หรือที่เราเรียกว่า Job Safety Analysis : JSA เป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อเป็นการค้นหาอันตราย หรือ ชี้บ่งอันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนกิจกรรมงาน ซึ่งอันตรายนั้นอาจส่งผลกระทบให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บ หรือเกิดโรคจากการทำงาน ซึ่งการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA จะต้องมีการ "กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันอันตราย" ของในแต่ละขั้นตอนกิจกรรมงานอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปจัดทำแผนเพื่อควบคุมความเสี่ยงอีกขั้นตอนหนึ่ง และ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการเริ่มต้นนำไปจัดทำ คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อการค้นหาอันตรายในแต่ละกิจกรรมงาน อย่างเป็นระบบ
- เพื่อนำผลการวิเคราะห์อันตราย JSA ไปจัดทำเป็น คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงานได้ด้วย
- เพื่อนำผลการวิเคราะห์อันตราย ไปประเมินระดับอันตราย หรือประเมินความเสี่ยง แล้วนำไปจัดทำแผนงานควบคุมอันตราย ในลำดับถัดไป
- เพื่อนำไปใช้ใน การปรับปรุง และแก้ไข สภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย
ใคร ที่จะต้องทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
1. หัวหน้างาน หรือ จป. หัวหน้างาน
2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ เช่น จป. ระดับวิชาชีพ จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง
ขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมงานทั้งหมดในหน่วยงาน
ในขั้นตอนนี้ให้ทำการบันทึกงาน กิจกรรมต่างๆ ในความรับผิดชอบของหน่วยงานทั้งหมด ให้ครบถ้วน พร้อมระบุจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ระบุระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยอาจพิจารณาตามแนวทาง ดังนี้
1.1. งาน (Job) หมายถึง ภาระหน้าที่หรือเป้าหมายที่จะต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามมาตรฐาน จำนวน และระยะเวลาที่กำหนด เช่น งานตัดเหล็ก , งานอาร์คตะแกรง เป็นต้น ซึ่งงานโดยส่วนใหญ่จะมี 3 ประเภท ดังนี้
+++ ประเภท งานต่อเนื่อง/ งานประจำ
+++ ประเภท งานนาน ๆ จึงจะทำ เช่น การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร
+++ ประเภท งานมีเงื่อนไขจึงจะทำ เช่น งานซ่อมเครื่องจักร เครื่องชำรุดจึงจะมีการซ่อม , งาน Rework ชิ้นงาน ชิ้นงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จึงจะมีการปฏิบัติงาน เป็นต้น
1.2. (หัวข้อนี้เป็นเพียงคำแนะนำ) การระบุชื่องาน หรือเขียนชื่องาน ถ้าระบุให้ชัดเจนถึงลักษณะการทำงานได้จะเป็นการดี เพื่อการนำไปสื่อสาร หรือ ฝึกอบรม เช่น
+++ ระบุชื่องาน ตามด้วยชื่อเครื่องจักร เช่น งานตัดเหล็กด้วยเครื่องตัด , งานอาร์คตะแกรงด้วยเครื่องอาร์ค No.2
+++ งานเจียเหล็ก ที่ลักษณะชิ้นงานมีขนาดเล็ก แล้วการปฏิบัติเป็นการจับชิ้นงานมาเจีย กับเครื่องเจียที่ติดตั้งอยู่กับที่ ซึ่งจะแตกต่างกับ ลักษณะงานที่ชิ้นงานใหญ่ แล้วการปฏิบัติงานเป็นลักษณะใช้เครื่องเจียแบบมือถือ แล้วผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนที่ไปเจียในจุดต่างๆ ของชิ้นงาน
+++ งานบางลักษณะ จะเป็นงานแบบเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยการขับ ลาก จูง แบก หาม เช่น งานยกสินค้าเข้าคลังด้วยรถยก
ขั้นตอนที่ 2 เลือกงานที่จะวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
ในการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง งานทุกงาน กิจกรรมทุกกิจกรรม ควรทำการวิเคราะห์อันตรายเพื่อความปลอดภัยทั้งหมด แต่บางครั้งเราต้องจัดลำดับ เลือกงานที่ประเมินเบื้องต้นแล้วมีความเสี่ยงสูง เลือกงานนั้นขึ้นมาทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยก่อน โดยอาจพิจารณาจากข้อมูล ดังนี้
++ ข้อมูลอุบัติเหตุ เคยเกิดอุบัติเหตุ / เกิดอุบัติเหตุบ่อย
++ งานที่ต้องทำเป็นประจำ ทำต่อเนื่อง มีผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมาก
++ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 เลือกขั้นตอนงาน ที่จะวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
โดยให้แบ่งแยกขั้นตอนการทำงาน ออกเป็นลำดับก่อน-หลัง แล้วนำข้อมูลขั้นตอนงานเขียนลงในช่อง "ขั้นตอนงาน" โดยมีข้อควรระวัง / ข้อแนะนำในการเขียนขั้นตอนงาน ดังนี้
+++ ผู้ทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ควรคุ้นเคย หรือ รู้จักงานที่วิเคราะห์ฯ หรือไม่ก็ให้เข้าไปสังเกตุการทำงาน ณ จุดปฏิบัติงาน
+++ ขั้นตอนงาน ไม่ควรแบ่งให้ละเอียดเกินไป หรือหยาบจนเกินไป
+++ ขั้นตอนงาน คือ ทำอย่างไร (Action Steps)
ขั้นตอนที่ 5 ค้นหาอันตรายแต่ละขั้นตอนการทำงาน
ในขั้นตอนนี้ เราต้องตรวจสอบ ค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนงาน แล้วนำมากรอกลงในช่อง "อันตราย" ซึ่งอันตรายที่มีในแต่ละขั้นตอน อาจจะเป็นแบบที่ปรากฎอยู่ มองเห็นได้ ใช้สามัญสำนึกก็รู้ได้ว่าเป็นอันตราย กับ อันตรายแบบที่ต้องสังเคราะห์ วิเคราะห์ ใช้ความรู้ หลักวิชาการในการพิจารณา โดยผู้ทำการวิเคราะห์งาน อาจพิจารณาลักษณะอันตราย ได้ดังนี้
+++ อันตรายจากเครื่องจักร เช่น การถูกหนีบ ถูกกระแทก
+++ อันตรายจากของมีคม เช่น วัตถุดิบ ชิ้นงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ
+++ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
+++ อันตรายจากพื้นที่ การลื่น หกล้ม สะดุด หรือ ตกจากที่สูง
+++ อันตรายจากชิ้นงาน หรือวัสดุที่อาจล้มทับ ตกใส่
+++ อันตรายจากการยก เข็น ลาก ผลักดันวัตถุที่มีน้ำหนักมาก
+++ อันตรายจากสารเคมี
+++ อันตรายจาก วัตถุกระเด็นใส่
ซึ่งการระบุ อันตราย จะชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าสามารถระบุ อวัยวะ หรือ ส่วนของร่างกายที่รับอันตรายได้ เช่น กระเด็นใส่ตา หนีบมือ ตกใส่เท้า เป็นต้น อีกทั้งยังทำให้ การกำหนดมาตรการควบคุม และป้องกันได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 6 กำหนดมาตรการ วิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย
หลังจากที่เราทราบอันตราย ในแต่ละขั้นตอนงานแล้ว เราก็ต้องกำหนดมาตรการ วิธีป้องกันอันตรายและปรับปรุง แล้วกรอกลงในช่อง "มาตรการ การป้องกันและควบคุมอันตราย"
ขั้นตอนที่ 7 จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ในการจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้วยการนำ มาตรการวิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย (ในขั้นตอนที่ 6) ของในแต่ละงาน มาจัดเรียงใหม่ให้ ซึ่งอาจพิจารณา ดังนี้
+++ เรียงลำดับก่อน - หลัง ซึ่งอาจจัดกลุ่มเป็น มาตรการที่ต้องปฏิบัติในขั้นตอนการเตรียมก่อนเริ่มงาน , มาตรการที่ต้องปฏิบัติ ในขั้นตอนขณะปฏิบัติงาน และ มาตรการที่ต้องปฏิบัติ ในขั้นตอนการปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว
+++ รวบรวม มาตรการวิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย ของแต่ละงาน ทุกๆ งานของหน่วยงานมาจัดทำเป็น คู่มือฯ ของหน่วยงาน
** ติดต่อ จป.หน่อย เป็นวิทยากรอบรม : หลักสูตรการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (๋Job Safety Analysis : JSA) เพื่อจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยฯ ของหน่วยงาน
>>>> E-mail : safetypromanag@gmail.com
เอกสารอ้างอิง : คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน เทคนิคการค้นหา ประเมินและควบคุมจดเสี่ยง โดย อ.โสภณ พงษ์โสภณ
คำค้นหา : JSA , Job Safety Analysis , การวิเคราะห์อันตรายในงาน , วิเคราะห์อันตราย , จป. วิชาชีพ , การชี้บ่งอันตราย , เลือกงานอันตราย , จป. หัวหน้างาน , หน้าที่ จป. , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ