ภาชนะรับความดัน กับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในโรงงานส่วนใหญ่จะมีการใช้งาน ภาชนะรับความดัน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งาน ในบทความนี้ jorporHnoy จะมาบอกเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าเรา (จป.) ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ถ้ามีการใช้งานในโรงงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ฉบับแรก จะเป็นของกระทรวงแรงงาน ชื่อว่า กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ ๒๕๖๔ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔

ฉบับที่สอง จะเป็นของ กระทรวงอุตสาหกรรม ชื่อว่า กฎกระทรวง กําหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙

*ข้อสังเกตุ : กระทรวงแรงงานใช้คำว่า "ภาชนะรับความดัน" แต่ กฎกระทรวง ของอุตสาหกรรม ใช้คำว่า "ภาชนะรับแรงดัน"

 

ความหมายตามที่ระบุในกฎหมาย

กฎกระทรวงฯ ของกระทรวงแรงงาน

ภาชนะรับความดัน (pressure vessel) หมายความว่า ภาชนะปิดที่มีความดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า ๕๐ กิโลปาสคาลขึ้นไป และให้หมายความรวมถึงถังปฏิกิริยา (reactor) แต่ไม่รวมถึงภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

ส่วนกฎกระทรวงฯ ของอุตสาหกรรม

ภาชนะรับแรงดัน (pressure vessel) หมายความว่า

(๑) ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า ๑.๕ เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ําทะเล และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า ๑๐๓ มิลลิเมตร หรือ

(๒) ถังปฏิกิริยา (reactor)

 

ตัวอย่าง และลักษณะการใช้งานโดยทั่วไป ของภาชนะรับความดัน

๑. ถังบรรจุสารเคมี

๒. ถังบรรจุสารเคมีดับเพลิง

๓. ถังพักลม

๔. ถังรับน้ำขนาดใหญ่

 

ข้อยกเว้น ของกฎกระทรวงฯแรงงาน มิให้ใช้บังคับ กับ ภาชนะรับความดันที่มีลักษณะ ดังนี้ (ข้อ ๙๓ (๒))

ก. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในน้อยกว่า ๑๕๒ มิลลิเมตร

ข. เก็บน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิน้อยกว่า ๙๙ องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้อยกว่า ๔๕๐ ลิตร

ค. ภาชนะรับความดันและ บรรจุน้ำที่มีอากาศเป็นตัวสร้างความดันที่มีความดันเกจไม่เกิน ๒ เมกะปาสคาล หรือ มีอุณหภูมิไม่เกิน ๙๙ องศาเซลเซียส

ง. มีท่อส่งของไหลทุกประเภท หรือ ชิ้นส่วนรับแรงดันส่วนใดส่วนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเครื่องจักร

จ. ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

 

ข้อกฎหมาย เกี่ยกับการใช้งาน

๑. ภาชนะรับความดัน และ อุปกรณ์ประกอบต่างๆ ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน

๒. ต้องแจ้งการใช้งาน หรือแจ้งยกเลิกการใช้งาน

๓. มีคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย โดยต้องปฏิบัติตามรายละเอียดในคู่มือ และ ต้องมีสำเนาเอกสารไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

๔.  มีป้ายกำหนดวิธีการทำงาน การตรวจสอบ การแก้ไข หรือข้อปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นภาษไทย

๕.  จัดใหมีการบำรุงรักษา

 

๑. การติดตั้งก่อนการใช้งาน

กฎกระทรวงฯ ใช้บังคับกับภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตร ๑ ลูกบาศเมตรขึ้นไป หรือมีความดัน ตั้งแต่ ๕๐๐ กิโลปาสคาล

๑.๑. ต้องให้มีวิศวกรควบคุมการติดตั้ง

๑.๒. ทดสอบการใช้งานตามที่กำหนดในคู่มือของผู้ผลิต

๑.๓. เก็บเอกสารการทดสอบไว้ให้ตรวจสอบ (ไม่ต้องส่ง)

 

๒. การทดสอบความปลอดภัย ในการใช้งาน

การ "ทดสอบความปลอดภัย" ในการใช้งาน กฎกระทรวงฯ ใช้บังคับกับภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตร ๑ ลูกบาศเมตรขึ้นไป หรือมีความดัน ตั้งแต่ ๕๐๐ กิโลปาสคาล

๒.๑. ต้องทดสอบ ตามระยะเวลาที่กำหนดในคู่มือของผู้ผลิต

๒.๒. เก็บเอกสารการทดสอบไว้ให้ตรวจสอบ (ไม่ต้องส่ง)

 

๓. การตรวจสอบความปลอดภัย

การ "ตรวจสอบความปลอดภัย" ในการใช้งาน กฎกระทรวงฯ ใช้บังคับกับภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตร ๑ ลูกบาศเมตรขึ้นไป หรือมีความดัน ตั้งแต่ ๕๐๐ กิโลปาสคาล

๓.๑. ต้องตรวจสอบโดยการตรวจพินิจด้วยสายตาและการวัดความหนาโดยวิศวกรอย่างน้อย ๕ ปี/ครั้ง

๓.๒. เก็บเอกสารการตรวจสอบไว้ให้ตรวจสอบได้ (ไม่ต้องส่ง)

 

**การติดตั้ง การทดสอบความปลอดภัย การตรวจสอบความปลอดภัย หากได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ นี้

คำค้นหา : ภาชนะรับความดัน , ถังพักลม , กฎกระทรวงเครื่องจักร 2564 , ภาชนะรับแรงดัน , ตรวจสอบถังพักลม , ตรวจสอบภาชนะรับความดัน

ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า