ผู้ควบคุมก๊าซในโรงงาน สรุปกฎหมายอุตสาหกรรม

ในการประกอบกิจการในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีการใช้งานก๊าซอุตสาหกรรม ในกระบวนการต่างๆ ซึ่งในด้านความปลอดภัยได้มีกฎหมายกำหนดให้มี ผู้ควบคุมก๊าซในโรงงาน ซึ่งเรียกชื่อตามกฎกระทรวงว่า "คนงาน ซึ่งมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับการใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน"

ในเนื้อหานี้จะขอสรุปการประเมินความสอดล้องและแนวทางปฏิบัติ ตามกฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • กฎกระทรวง กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
  • กฎกระทรวง กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
  • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรองและการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุม ส่งและบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
  • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรองและการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุม ส่งและบรรจุก๊าซประจำโรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
  • ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ และ วิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและการออกหนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตร คนงานควบคุม ส่ง และ บรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

 

ผู้ควบคุมก๊าซ คือใคร

ผู้ควบคุมก๊าซ คือ คนงาน ตามที่กฎกระทรวงฯ ปี ๒๕๔๙ ได้ให้คำจำกัดความไว้ ดังนี้

“คนงาน” หมายความว่า

(๑) คนงานควบคุมก๊าซ หรือ ผู้ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้ และ การเก็บก๊าซในภาชนะบรรจุก๊าซ

(๒) คนงานส่งก๊าซ หรือ ผู้ซึ่งมีหน้าที่ส่ง หรือ ขนส่งก๊าซที่อยู่ในภาชนะบรรจุก๊าซ

(๓) คนงานบรรจุก๊าซ หรือ ผู้ซึ่งมีหน้าที่บรรจุก๊าซลงในภาชนะบรรจุก๊าซ

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ต้องจัดให้ที ผู้ควบคุมก๊าซในโรงงาน

ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มี “คนงาน” ซึ่งได้รับหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ หรือ คนงานบรรจุก๊าซ โดยกำหนดไว้ ๒ ข้อ (หลักเกณฑ์) ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ข้อใด ข้อหนึ่ง ก็ต้องดำเนินการจัดให้มี "คนงาน"

หลักเกณฑ์แรก (ข้อ ๒ ตามกฎกระทรวงฯ) โรงงานผลิตก๊าซ ผู้ประกอบกิจการส่ง หรือ จำหน่ายก๊าซ โรงงานบรรจุก๊าซ เฉพาะก๊าซ คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือ ก๊าซอันตรายอื่นที่ที่รัฐมนตรีกำหนด

หลักเกณฑ์ที่สอง (ข้อ ๓ ตามกฎกระทรวงฯ) เป็นโรงงานที่มีการใช้ หรือ เก็บก๊าซ เฉพาะ ก๊าซคลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อะเซทิลีน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือ ก๊าซอันตรายอื่นที่ที่รัฐมนตรีกำหนด และ

-- มีการติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซ (Storage tank) หรือ

-- มีปริมาณภาชนะบรรจุก๊าซ (Cylinder) ตั้งแต่ ๒๐ ภาชนะขึ้นไป หรือ

-- มีภาชนะบรรจุก๊าซชนิดติดตั้งบนรถ (Tube trailer)

 

การฝึกอบรม

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีดังนี้

๑. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี บริบูรณ์  และ  ๒. สามารถอ่าน และ เขียนภาษาไทยได้

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของหลักสูตร และ ผ่านการประเมินผลโดยสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐

 

การขึ้นทะเบียน

ผู้ผ่านการฝึกอบรม และได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้ยื่นเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็น คนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซ ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การขึ้นทะเบียน "คนงาน" มีอายุครั้งละ ๕ ปี นับแต่วันอนุญาต

คำค้นหา : กฎหมายผู้ควบคุมก๊าซ , ผู้ควบคุมก๊าซในโรงงาน , ผู้ส่งก๊าซ , ผู้บรรจุก๊าซ , กฎกระทรวงอุตสาหกรรม , ฝึกอบรมผู้ควบคุมก๊าซ , ประกาศกรมโรงงาน , ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม , คนงานส่งก๊าซ , คนงานบรรจุก๊าซ , คนงานควบคุมก๊าซ , ก๊าซฮีเลียม

ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า