แต่งตั้ง จป.บริหาร อย่างไรให้สอดคล้องกับกฎหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร หรือ จป.บริหาร  คือ บุคคลอีกตำแหน่งที่มีความสำคัญ มีบทบาทและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในหน่วยงานของตนเอง ซึ่งตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการ ต้องดำเนินการแต่งตั้ง ฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และการ แต่งตั้ง จป.บริหาร (มาตรา ๑๓) กัน

 

จป. บริหารคือใครและมีได้กี่คน?

 

อันดับแรกเราก็มาดูว่าใครที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องถูกขึ้นทะเบียน และ แต่งตั้งจป.บริหาร

ตาม กฎกระทรวง กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๑๙ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้

-- สถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หรือ

-- สถานประกอบกิจการตามอข้อ ๑ (๖) ถึง (๑๔) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๒๐ คนขึ้นไป

ต้องแต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารทุกคน เป็น "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร หรือ จป. บริหาร " ของสถานประกอบกิจการ

 

ลูกจ้างระดับบริหารทุกคน

 

ฉะนั้นในสถานประกอบกิจการหนึ่ง อาจจะมี จป.บริหาร ได้มากกว่า ๑ คน ตามคุณสมบัติที่กำหนด ในกฎกระทรวงฯ ข้อ ๒ ดังนี้

ลูกจ้างระดับบริหาร  หมายความว่า  ลูกจ้างซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม

สรุปหัวข้อแรก

-- แต่งตั้ง จป.บริหาร ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ตามเงื่อนไข ที่กฎกระทรวงกำหนด

-- แต่งตั้ง จป.บริหาร บุคคลนั้นต้องเป็น "ลูกจ้าง" ของสถานประกอบกิจการ *ดูความหมายคำว่าลูกจ้าง ใน พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ

-- แต่งตั้ง จป.บริหาร แต่งตั้งได้หลายคน ตามโครงสร้างตำแหน่งงานของสถานประกอบกิจการ

 

การดำเนินการขึ้นทะเบียนแและ แต่งตั้งจป.บริหาร

 

หัวข้อนี้เราจะมาประเมินความสอดคล้องและดำเนินการขึ้นทะเบียน จป.บริหาร กัน  โดยเริ่มจาก

 

ขั้นตอนที่ ๑ ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย ให้ดูโครงสร้างองค์กรว่า หัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่าหัวหน้างาน มีตำแหน่งใดบ้าง ส่วนใหญ่มักจะใช้ ตำแหน่ง คำว่า "ผู้จัดการแผนก" "ผู้จัดการฝ่าย"  อันนี้ส่วนใหญ่นะครับ เพราะบางแห่งอาจใช้ชื่อตำแหน่งอื่นๆ ได้ แต่กฎหมาย ไม่ได้สนใจที่ชื่อตำแหน่ง แต่สนใจที่หน้าที่ความรับผิดชอบ

---- ขั้นตอนนี้ จป. ทุกคนต้องประเมินด้วยตนเองตาม สถานะอันเป็นจริงของ สถานประกอบกิจการที่ตนเองทำงานอยู่ โดยนำคำจำกัดความ ของคำว่า "ลูกจ้างระดับบริหาร" มาประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย

 

ขั้นตอนที่ ๒ จัดทำประกาศ แต่งตั้งจป.บริหาร

--- ตัวอย่างประกาศแต่งตั้ง จป.บริหาร ดาวน์โหลดไปดูเป็นตัวอย่าง หรือ แบบไฟล์ Word นำไปปรับใช้งานได้เลย  คลิกที่นี่

 

ขั้นตอนที่ ๓  ส่ง จป.บริหาร ที่ได้ทำการแต่งตั้งแล้ว ให้เข้ารับการอบรมกับหน่วยฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในหลักสูตร "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร" จำนวน ๑๒ ชั่วโมง (๒ วัน) ก็จะได้ใบรับรองว่า ผ่านการอบรม จป.บริหาร

--- ปัจจุบัน (๒๔ ก.ค. ๖๔) สามารถอบรมทางออนไลน์ได้ด้วยนะ

 

ขั้นตอนที่ ๔  ดำเนินการขึ้นทะเบียน จป.บริหาร โดยแจ้งเป็นหนังสือด้วยตนเอง หรือ ทางจดหมาย หรือทางโทรสาร หรือแจ้งผ่าน เว็บไซต์ของกรมฯ พร้อมหลักฐาน ดังนี้

--- หนังสือแจ้งชื่อ จป.บริหาร    *Download ตัวอย่างหนังสือ >> คลิกที่นี่

--- สำเนาบัตรประชาชนของ จป.บริหาร

--- สำเนาเอกสารการแต่งตั้งจป.บริหาร

-- สำเนาใบรับรองผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร จป.บริหาร

 

เมื่อดำเนินการแจ้งชื่อ จป.บริหาร เพื่อขึ้นทะเบียนกับสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ หรือ จังหวัด แล้ว ก็รอ เจ้าหน้าที่ฯ จะส่งหนังสือแจ้งพร้องเลขทะเบียนของ จป.บริหารกลับมาที่สถานประกบกิจการ ก็เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์ ถูกต้องสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

 

ปรึกษาการประเมินกฎหมายกับ จป.หน่อย ได้ที่  Email : safetypromanag@gmail.com หรือ Inbox เพจ

คำค้นหา : จป. บริหาร , จป. , กฎหมายแต่งตั้ง จป. , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร , จป. ระดับบริหาร , แต่งตั้ง จป. , อบรม จป. บริหาร , จป. บริหาร มีกี่คน

ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า