ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง นายจ้างต้องดำเนินการตาม กฎหมายตรวจสุขภาพลูกจ้าง เพื่อให้มีการเฝ้าระวัง "โรคจากการทำงาน" ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกจ้าง อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้ทราบภาวะสุขภาพของลูกจ้าง และแนวโน้มการเจ็บป่วยต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงงานตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และดำเนินการรักษารวมทั้งการป้องกันก่อน นอกจากนี้นายจ้างต้องนำข้อมูลด้านสุขภาพมาวิเคราะห์ เพื่อดำเนินการป้องกันโรคจากการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง จป. ก็ได้ดำเนินการและปฏิบัติตาม "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งกฎหมายฉบับที่ออกมาใหม่มีชื่อว่า
ชื่อกฎหมาย : กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. ๒๕๖๓
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา : วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓
มีผลให้ยกเลิก "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๗"
ประเด็นที่ ๑ : ความหมาย ในกฎกระทรวง
การตรวจสุขภาพ หมายความว่า การตรวจร่างกายและสภาพวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมของ "สภาวะสุขภาพ" หรือผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างอันเกิดจากการทำงานเกี่ยวกับ "ปัจจัยเสี่ยง"
>> ความหมายมีคำว่า "สภาวะสุขภาพ" กับ "ปัจจัยเสี่ยง" เพิ่มเข้ามาจากเดิม <<<
งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง หมายความถึงงานที่ทำเกี่ยวกับ
(๑) สารเคมีอันตรายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด >รอประกาศกรมฯ ซึ่งจะประกาศกำหนด
(๒) จุลชีวัลเป็นพิษที่อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือสารชีวภาพอื่น
(๓) กัมมันตภาพรังสี
(๔) ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสง และเสียง
(๕) สภาพแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
>> ข้อนี้แตกเพิ่มเป็น 5 ข้อ ซึ่งความหมายของงานปัจจัยเสี่ยงยังคงไม่แตกต่างจากเดิมมาก <<<
แพทย์ หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
>> ในกฎกระทรวงนี้ถ้าข้อไหนไม่ได้กำหนดให้กระทำโดยแพทย์ทางอาชีวเวชศาสตร์ ก็ดำเนินการโดยแพทย์แขนงอื่นๆ ได้ <<<
ประเด็นที่ ๒ : การกำหนดระยะเวลาในการตรวจสุขภาพ
กำหนดระยะเวลาการตรวจสุขภาพ (ข้อ ๓) กำหนดไว้ 3 กรณีดังนี้
301-1 ตรวจครั้งแรกให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับเข้าทำงาน
301-2 กรณีลักษณะหรือสภาพของงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงมีความจำเป็นต้องตรวจ ให้ตรวจสุขภาพตามระยะเวลานั้น
301-3 กรณีเปลี่ยนงานที่มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม ให้ตรวจสุขภาพให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนงาน
>>> การดำเนินการตามข้อ ๓ นี้ ให้กระทำโดยแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ หรือผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตามหลักสูตรที่สาธารณสุขกำหนด <<<
กรณีที่ "ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง" หยุดงานตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไป "เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใดๆ" ก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ให้ขอความเห็นจากแพทย์ผู้รักษาหรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์
>> จากข้อนี้ จป.ควรเริ่มทำ SEG LIST และทะเบียนพนักงานปฎิบัติงานประจำจุดงานได้แล้ว <<<
การตรวจสุขภาพฯ ให้แพทย์ผู้ตรวจบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจ โดยระบุความเห็นที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพที่มีผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้วย
>> บันทึกผลตรวจสุขภาพ จะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้<<<
จัดให้มี สมุดสุขภาพประจำตัวลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด (รอประกาศกรมฯ ที่จะกำหนดรูปแบบออกมา)
>> สมุดสุขภาพฯ จะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ <<<
**** สนใจจัดทำสมุดสุขภาพฯแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรมฐานข้อมูล Access สอดคล้องตาม กฎหมายตรวจสุขภาพลูกจ้าง ติดต่อ จอปอหน่อยได้นะครับ****
การเก็บบันทึกผลการตรวจ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ตลอดเวลา กำหนดไว้เป็น 2 กรณี
เก็บไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการจ้าง - กรณีทั่วไป
เก็บไม้น้อยกว่า 10 ปี กรณีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง (ตามประกาศกระทรวงแรงงานว่าด้วยการกำหนดชนิดของโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือฯ)
การแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้างทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
801-1 ผลตรวจสุขภาพผิดปกติ ให้แจ้งลูกจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันที่ทราบผล
801-2 ผลตรวจสุขภาพปกติ ให้แจ้งลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่ทราบผล
กรณีผลตรวจสุขภาพฯ ผิดปกติหรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้ลูกจ้างได้รับการตรวจรักษาทันทีและให้ตรวจสอบหาสาเหตุ
การส่งผลตรวจสุขภาพฯ การให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย ตามแบบและวิธีการที่อธิบดีประกาศ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย
>> ส่งเอกสารพนักงานตรวจความปลอดภัย ภายใน 30 วัน เมื่อทราบความผิดปกติหรือทราบการเจ็บป่วย <<<
ให้เปลี่ยนงานตามที่เห็นสมควร กรณีลูกจ้างมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการ แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้
>> มอบสมุดสุขภาพฯ ให้แก่ลูกจ้างฯ เมื่อสิ้นสุดการจ้าง <<<
จอปอหน่อย
๗ ต.ค. ๖๓ : ๐๕.๑๐ น.
ไปหน้าสารบัญรายการบทความ Safety