กฎกระทรวงเครื่องจักร ปั้นจั่น ๒๕๖๔ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป

หลังจากที่เราได้ทำงานกับ กฎกระทรวงเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนมาปีนี้ พ.ศ. ๒๕๖๔ กว่า ๑๒ ปี เราชาว จป. ก็ได้เห็น กฎกระทรวงเครื่องจักร ฉบับปี ๒๕๖๔ ชื่อเต็ม

 

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

 

ภาพรวมของกฎกระทรวง

๑.   กฎกระทรวงเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ฉบับนี้ ออกมาภายใต้ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

ซึ่งกฎกระทรวงเครื่องจักร ฉบับเก่า ปี ๒๕๕๒ ออกมาภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

 

๒.   กฎกระทรวงปี ๒๕๖๔ ฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  ประกาศในราชกิจานุเบกษาฯ วันที่ ๖ ส.ค. ๖๔ ครบเก้าสิบวัน วันที่ ๓ พ.ย. ๖๔

 

๓.   กฎกระทรวงปี ๒๕๖๔ ฉบับนี้มีผลทำให้กฎกระทรวงที่มีอยู่ ถูกยกเลิก / สิ้นสภาพการบังคับใช้ จำนวน ๑ ฉบับ ดังนี้

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.๒๕๕๒

รวมถึงประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามกฎกระทรวงฯ ปี ๒๕๖๒ ด้วย แต่อนุโลมให้ใช้บังคับไปจนกว่าจะมี ประกาศกรมฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แทน

 

๔. กฎกระทรวงปี ๒๕๖๔ ฉบับนี้มีทั้งหมด ๔ หมวด  ๑๒๑ ข้อ  ซึ่งมีเนื้อหาและข้อกำหนดมากกว่า กฎกระทรวงฯ ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีเพียง ๙๗ ข้อ

มีอะไรใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงในกฎกระทรวงฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ฉบับปี ๒๕๖๔

 

-- ความหมายของเครื่องจักร มีการเพิ่มข้อความ "พลังงานแสงอาทิตย์" เข้ามาใหม่ ด้วย

-- ความหมายของเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร มีการปรับคำจาก คำว่า ที่เป็นอันตราย "ของ" เครื่องจักร เปลี่ยนเป็น คำว่า ที่เป็นอันตราย "จาก" เครื่องจักร

-- ความหมายของ รถยก มีการเพิ่มข้อความว่า "เช่น ฟอร์คลิฟต์ (Forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน" เข้ามาในความหมายด้วย

-- กฎกระทรวง ได้เพิ่มความหมายของลิฟต์ โดยแยกเป็น "ลิฟต์โดยสาร" และ "ลิฟต์ขนส่งวัสดุ"

-- กฎกระทรวงฯ ได้เพิ่ม ส่วนที่ ๖ เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง เข้ามา

-- กฎกระทรวงฯ ได้เพิ่ม ส่วนที่ ๗ รอก และความหมายของรอก เข้ามา

-- ในกฎกระทรวงฯ ความหมายของ "ปั้นจั่น" ได้ตัดในส่วนของ "รอก" ออก และเพิ่มเติมความหมายของ "ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่" และ "ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่" เข้ามา

-- ในกฎกระทรวงฯ ในส่วนของหมวดที่ ๓ ได้เพิ่ม หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน, ภาชนะรับแรงดัน และภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน เข้ามาด้วย จากเดิม (ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๕๒) ที่มีเฉพาะ หม้อน้ำ

 

ประเด็นใหม่ ที่น่าสนใจของ กฎกระทรวงเครื่องจักร

 

ประเด็นที่ ๑ : การจัดทำคู่มือ

กำหนดให้มีคู่มือ : เครื่องจักร รถยก ลิฟต์ เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง ปั้นจั่น

ภาษาที่ใช้ในคู่มือ : เป็น ภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่ลูกจ้างสามารถศึกษาและปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยได้

เนื้อหาในคู่มือ : ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้งาน การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน และการเคลื่อนย้าย

 

ประเด็นที่ ๒ : การตรวจสอบประจำปี

ข้อ ๙ : ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบประจำปี สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและงานขนย้าย เช่น รถยก, ระบบสายพานลำเลียง รวมถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ในงานก่อสร้าง อาทิ เครื่องจักรงานดินและงานถนน, เครื่องจักรงานคอนกรีต, เครื่องจักรงานฐานราก, เครื่องจักรงานขุด งานเจาะ, เครื่องจักรงานรื้อถอนทำลาย และเครื่องจักรตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (อาจจะมีอีก)

 

ประเด็นที่ ๓ : การทดสอบ ตามรอบระยะเวลาที่กำหนด

ลิฟต์, ปั้นจั่น, หม้อน้ำ, หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน, ภาชนะรับความดันปริมาตรตั้งแต่ ๑ ลูกบาศก์เมตรขึ้นไปหรือมีความดัน ๕๐๐ กิโลปาสคาลขึ้นไป

 

ประเด็นที่ ๔ : กำหนดให้ลูกจ้างต้องผ่านการฝึกอบรม

ข้อกำหนดใหม่ : (ข้อ ๑๓) เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ หรือเครื่องจักรอื่นตามประกาศกรมฯ (อาจจะมีประกาศกรมฯ ออกมาอีก), ข้อ ๕๓ เครื่องจักรใช้สำหรับยกคนขึ้นบนที่สูง,

ยังคงเดิม : ผู้ขับรถยก, ผู้บังคับปั้นจั่น, ผู้ให้สัญญาณฯ, ผู้ยึดเกาะวัสดุ, ผู้ควบคุมการใช้งานปั้นจั่น, ผู้ควบคุมหม้อน้ำหรือหม้อต้มฯ

 

ประเด็นที่ ๕ : การประเมินอันตรายของเครื่องจักร

กำหนดให้มีการประเมินอันตราย : ประกอบด้วยเครื่องจักรประเภทเครื่องบด เครื่องโม่ เครื่องตัดน้ำแข็ง เครื่องเลี่อยสายพาน เครื่องเลื่อยวงเดือน เลี่อยยนต์ หรือเครื่องจักรอื่นตามประกาศกรมฯ (อาจจะมีประกาศกรมฯ ออกมาอีก)

เนื้อหาการประเมินอันตราย : ต้องประกอบด้วย การบ่งชี้อันตราย การประเมินความเสี่ยง แผนบริหารจัดการความเสี่ยง

 

** แนะนำให้อ่านรายละเอียดในแต่ละข้อกฎหมาย เพื่อประเมินความสอดคล้องให้เหมาะสมกับแต่ละสถานประกอบกิจการอีกครั้งครับ **

ไปหน้าสารบัญ "บทความ Safety"

คลิกที่นี่

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า