แผนงาน Safety เพื่อความปลอดภัย (๑) : ทำไมต้องมีแผนฯ

การดำเนินชีวิต ในแต่ละวันของคนเรา ล้วนต้องมีแผนและเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายแบบคร่าวๆ หลวมๆ หรือ เป้าหมายที่ชัดเจน วัดผลได้ เพราะถ้าคนใด ดำเนินชีวิตไปแบบไร้เป้าหมาย คนๆนั้นก็จะหาความสำเร็จได้ไม่ (เพราะไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์วัดผลใน "ความสำเร็จ" ) แผนงาน Safety งานด้านความปลอดภัย ก็เช่นกัน

ไปตลาด ก็ต้องมีเป้าหมายว่าจะไปซื้ออะไรบ้าง อย่างน้อยซัก 1 อย่าง แต่เมื่อกลับมาบ้านก็อาจจะมีของติดไม้ ติดมือมาได้หลายอย่างก็เป็นได้ แต่เราก็ยังได้สิ่งของตามเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรก

ไปเที่ยว ก็ต้องมีเป้าหมายว่าจะไปเที่ยวที่ไหน แต่พอไปจริงก็อาจจะไปเที่ยวได้หลายที่ก็ได้เหมือนกัน และ

การปฏิบัติงานในหน้าที่ จป. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ก็เช่นกัน ย่อมมีเป้าหมาย เช่น เป้าหมายที่ว่า ...

>>> อุบัติเหตุ ต้องเป็น ศูนย์ <<<

ในการจัดทำ แผนการควบคุมเพื่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ ก็เช่นกัน จป. จะต้องกำหนด "เป้าหมาย" ว่าอยากให้ความปลอดภัยในโรงงานของเราอยู่ในสภาวะแบบไหน เช่น อุบัติเหตุทุกกรณีต้องเป็นศูนย์ หรือ อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต้องเป็นศูนย์ หรือ พนักงานทุกคนต้องเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร "ความปลอดภัยในการทำงาน" ตามแผนประจำปี เป็นต้น และจุดมุ่งหมายในการจัดทำ แผนงานควบคุมเพื่อความปลอดภัยนี้ ไม่ได้ดูที่ความมีเนื้อหามากมาย สวยหรูแต่อย่างใด แต่เราต้องกลับมาเน้นที่ เนิ้อหาที่เข้าใจง่าย เพื่อที่จะสื่อสารไปยังทุกคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง และนำไปปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง

 

แผนงาน Safety หรือแผนควบคุมความปลอดภัยในการทำงาน ที่ดีเป็นอย่างไร?

 

จป. รู้หรือไม่ ทำไมต้องเราจึงต้องมีแผน และ ต้องจัดทำแผน?

 

ข้อแรก แผนงานด้านความปลอดภัย เป็นสิ่งที่โรงงานแต่ละแห่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อควบคุม ป้องกัน ซึ่งแผนควบคุม หรือแผนงานความปลอดภัยก็อาจมีได้หลายระยะ เช่น แผนรายเดือน แผนประจำปี แผนงาน 3 ปี หรือแผนของโครงการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของแผนและเนื้อหาย่อมแตกต่างกันในแต่ละองค์กร

ข้อสอง เป็นหัวข้อที่กฎกระหมายได้กำหนดไว้ ตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ 5 ที่กำหนดว่า ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 5 หัวข้อ ซึ่ง (3) คือแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำไปปฏิบัติ

 

แผนงานความปลอดภัย ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง?

 

ไม่มีรูปแบบหรือหลักเกณฑ์ตายตัว ในการจัดทำแผนงานควบคุมด้านความปลอดภัย หรือแผนควบคุมความปลอดภัย แต่ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ 9 ได้กำหนดแนวทาง ไว้ให้เราได้ดำเนินการไว้แล้ว ดังนี้

(1) แผนงานต้องมี การทบทวนสถานะเบื้องต้นขององค์กร  หรือนำ บริบทขององค์กร มาพิจารณาก่อนจัดทำแผนงาน

(2) มีการนำผล การทบทวนสถานะเบื้องต้น (จากข้อ 1) มาวางแผนงานด้านความปลอดภัย ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งอย่างน้อยต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ และเกณฑ์การประเมินผล

(3) การนำแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลที่ได้จากการปฏิบัติงานตามแผนงานด้านความปลอดภัยฯ

(5) นำผลการประเมินผล (ข้อ 4) ไปปรับปรุงแผนงานด้านความปลอดภัยฯ

ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้ง 5 ขั้นตอน จะเหมือนเป็นการนำหลักการ P - D - C- A มาเป็นหลักในการดำเนินการ

 

ปัญหาในการจัดทำแผนควบคุมด้านความปลอดภัย และปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัย มักมีดังนี้

แผนที่จัดทำขึ้น... ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ขององค์กร

แผนที่จัดทำขึ้น.. ไม่มีความน่าสนใจ ซ้ำๆ กันทุกปี

แผนที่จัดทำขึ้น.. ครอบจักวาล แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆในโรงงานได้

แผนที่จัดทำขึ้น.. ไม่ได้ชี้บ่งปัญหาที่แท้จริง หรือขาดการประเมินระดับของปัญหา

แผนที่จัดทำขึ้น.. เป็นแผนฝ่ายเดียว การจัดทำแผนขึ้นโดยฝ่ายใดฝ่ายเดียว แล้วกำหนดให้ฝ่ายอื่นๆ ทำโน่น ทำนี่ จึงมักขาดความร่วมมือ หรือความกระตือรือร้นในการดำเนินการตามแผนฯ

แผนที่จัดทำขึ้น.. ไม่มีรายละเอียดในวิธีการดำเนินการตามแผน (ขาดเข็มทิศ)

แผนที่จัดทำขึ้น.. แม้แต่แผนที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก หรือมีรายละเอียดที่มากเกินไป ก็เป็นปัญหาได้เหมือนกัน

ถ้าแผนควบคุมด้านความปลอดภัย มีสถานการณ์ตามที่กล่าวข้างต้น ก็ให้ จป. ลองกลับมาพิจารณาว่าสิ่งต่างๆ ที่ดำเนินการสำเร็จและมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์จริงๆ หรือไม่?

 

แล้ว.. แผนควบคุมด้านความปลอดภัยที่มีโอกาสสูงในการบรรลุเป้าหมาย และ มีประสิทธิผล ที่จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ละ เป็นอย่างไร?

แผนนั้น.. ต้องคำนึงถึง บริบทขององค์กร ก่อน

แผนนั้น.. มีฝ่ายอื่นๆ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯ ด้วย

แผนนั้น.. เน้นหัวข้อดำเนินการที่สำคัญและก่อให้เกิดประสิทธิผล

แผนนั้น.. ระบุชัดเจน ว่า "ใคร ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อใด"

แผนนั้น.. มีแผนการติดตามความคืบหน้า ติดตามปัญหาอุปสรรค และปรับปรุงแก้ไขตามควมจำเป็น (P-D-C-A) เป็นระยะๆ เช่น ทุกเดือน ทุก 3 เดือน เป็นต้น

 

และก็อย่าลืมว่า แผนควบคุมด้านความปลอดภัย วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถป้องกันอุบัติเหตุและลดอันตรายจากการทำงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และส่งผลให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดี และออกมาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

 

ต้องการ Download ไฟล์เอกสารตัวอย่างแผนงาน  กรุณา Login เข้าสู่ระบบสมาชิก

>>> ไฟล์ pdf  สำหรับสมาชิกทุกประเภท  :

>>> ไฟล์ Excel หรือ Word  นำไปปรับใช้ได้เลย สำหรับสมาชิก Premium  :

คำค้นหา : แผนงานความปลอดภัย , แผนงาน safety , แผนงานประจำปี , แผนงาน จป. , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย , จป. วิชาชีพ

ไปหน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า